วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 17






วันที่ 27 ก.พ. พ.ศ. 2554
สอบสอนการใช้สื่อการสอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
นักศึกษาส่วนใหญ่มีการเตรียมตัวในการสอบสอนค่อนข้างดี แต่ในการสอนควรมีขั้นนำเข้าสู่เนื้อหาก่อน อาจจะเป็นการใช้เพลง นิทาน หรือคำค้องจองก็ได้ ควรมีการใช้คำพูดน้ำเสียงที่ชัดเจน นักศึกษาส่วนใหญ่จะมีข้อผิดพลาดในเรื่องของการให้เด็กได้มีส่วนร่วม นักศึกษาควรสอนโดยการให้เด็กได้มีส่วนร่วมทุกคนไม่ควรใช้ตัวแทนเด็กเพราะเด็กคนอื่นๆอาจจะไม่สนใจหรือไม่เข้าใจ และเป็นการควบคุมชั้นเรียนได้ยาก และเรื่องของการเรียงลำดับสิ่งของสื่อคณิตศาสตร์นักศึกษาควรวางให้เด็กได้มองเห็น และเมื่อมีการวางเรียงเสร็จแล้ว ก็ไม่ควรนำมารวมกัน การใช้ที่ติดสื่อบนกระดานนั้นก็ไม่ควรใช้กาวสองหน้าเพราะจะเป็นการเสียเวลา ควรเป็นแบบเสื้อกระเป๋าหรือตีนตุ๊กแก และในการแยกประเภทสิ่งของไม่ควรสิ่งของหลานสิ่งจนเกินไป การให้เด็กชิมผลไม้ก็ไม่ควรใช้ที่จิ้มหรือภาชนะอันเดียวกัน

ส่วนใหญ่แล้วนักศึกษาจะมีการสอนในเรื่องต่างๆดังนี้
-จำนวน
-การนับ
-สี
-การแยกประเภท
-การจัดลำดับ
-มากกว่า-น้อยกว่า
-ซ้าย-ขวา
-รูปเรขาคณิต
-การสัมผัส
-สัญลักษณ์ทางคณิต
-พื้นผิว
-รูปร่าง-รูปทรง
เพลง มาฝากค่ะ
เพลง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม
(ไม่ทราบนามผู้แต่ง)
สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม
ครูบรรจง ให้หนู รู้จัก
เด็กๆหนูช่างน่ารัก เรามารู้จัก
สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ข้าพเจ้าได้รับความรู้ต่างๆมากมายจากการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ได้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของความหมายของคริตศาสตร์ คือ สิ่งที่มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เป็นการคิด การคาดคะเน การนับ จำนวน ตัวเลข การเปรียบเทียบ และการแก้ไขปัญหาต่างๆ และเกิดเป็นความคิดรวบยอดขึ้น และยังได้รู้หลักการเทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ให้กับเด็ก การใช้แรงเสริม การกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ที่สามารถพัฒนาการเรียนรู้ทั้ง 4 ด้าน และเด็กเกิดการเรียนรู้จากการได้ลงมือปฏิบัติหรือลงมือกระทำ โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 และได้เรียนรู้เทคนิคการใช้เพลง คำคล้องจองที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ การใช้สื่อเทคนิคการสอนต่างๆและได้ความรู้ในเรื่องของขอบข่ายคณิตศาสตร์ ซึ่ง มีเรื่องของ จำนวน ตัวเลข การนับ ขนาด ที่ตั้ง เวลา ค่าของเงิน และอุณหภูมิเป็นต้น

บรรยากาศในห้องเรียน
นักศึกษาทุกคนตั้งใจทำการสอบสอนดี มีตื่นเต้นบ้างเล็กน้อย และบางคนก็มีข้อผิดพลาดที่ต้องแก้ไขและพัฒนาปรับปรุงพอสมควรค่ะ



วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 16

วันที่ 17 ก.พ. พ.ศ. 2554

อาจารย์นำหนังสือที่แจกให้นักศึกษามาอภิปรายให้ความรู้เกี่ยวกับการบูรณาการให้เข้ากับคณิตศาสตร์กับเด็กปฐมวัยว่ามีการนำไปใช้ประโยชน์ในการสอนและมีวิธีการเล่นอย่างไร
รวมถึงการเรียนเรื่องของขอบข่ายคณิตศาสร์ มีตัวอย่างการสอน
อาจารย์เขียนบนกระดานและให้นักศึกษายกมือตอบเกี่ยวกับเกมการศึกษาในเรื่องของขอบข่ายคณิตศาสตร์

ส่งงานขอบข่ายคณิตศาสตร์ (เกมการศึกษา)

บรรยากาศในห้องเรียน
นักศึกษาตั้งเรียนเป็นส่วนใหญ่

บันทึกครั้งที่ 15

วันที่ 10 ก.พ. พ.ศ. 2554







อาจารย์มอบหมายให้นักศึกษานำ"เกมการศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์"
มาอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนเกี่ยวกับสื่อคณิตศาสตร์ของตนกับเพื่อนพร้อมมอบหมายงานให้นักศึกษาเขียนชื่อเกม,ขอบข่ายคณิตศาสตร์,และวิธีการเล่นส่งในคาบเรียนหน้า

-เกมจับคู่รอยเท้าสัตว์
-เกมจับคู่ภาพสัตว์
-เกมจิ๊กซอรูปคนข้ามถนน
-เกมจิ๊กซอภาพฝนตก
-เกมจิ๊กซอรูปผีเสื้อ
-เกมต่อภาพจำนวนที่เท่ากัน
-เกมจับคู่ภาพแบบอุปมาอุปไมย
-เกมจัดหมวดหมู่ ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง
-เกมจับคู่แทนสัญลักษณ์ภาพ
-เกมพื้นฐานการบวก



บรรยากาศในห้องเรียน
นักศึกษาให้ความสนใจการเรียนรู้เรื่องสื่อเกมการศึกษาคณิตศาสตร์มาก

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 14

วันที่ 3 ก.พ. พ.ศ. 2554

อาจารย์สอนเรื่องของสาระสำคัญของคณิตศาสตร์
-สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
จำนวนนับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ...เป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นที่ละหนึ่ง (ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ)
-สาระที่2 การวัด
การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน
การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
-สาระที่3 เรขาคณิต
จำแนกทรงกลม
ข้างบน ข้างล่าง ข้างนอก
-สาระที่4 พีรคณิต
แบบรูปความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุดจำนวน รูปเรขาคณิต หรือสิ่งต่างๆ
-สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
อาจใช้การสังเกตหรือการสอบถามก็ได้
แผนภูมิรูปภาพเป็นการนำเสนอข้อมูลอย่างง่าย ดดยใช้ภาพแสดงจำนวนสิ่งต่างๆ อาจวางรูปตามแนวนอน แนวตั้ง ก็ได้

บรรยากาศในห้องเรียน
นักศึกษาตั้งใจเรียนกันดี อากาศถ่ายเทดีค่ะ

บันทึกครั้งที่ 13


วันที่ 27 ม.ค. พ.ศ. 2554

อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 3-4 คน

ระดมความคิด คิดหน่วยการสอนที่สอดคล้องกับคณิตศาสตร์
ทำmind map เกี่ยวกับการบูรณาการสอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(หน่วยเรื่อง ข้าวโพด)
พร้อมทำแผนการจัดประสบการณ์ 4 วัน

บรรยากาศในห้องเรียน
อากาศในห้องเรียนเย็นสบายมาก แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์จะพังหน้านักศึกษาในการเรียน นักศึกษาตั้งใจเรียนกันดีพอสมควร

บันทึกครั้งที่ 12


วันที่ 20 ม.ค. พ.ศ. 2554

เรียนเกี่ยวกับ
-หลักการสอนคณิตศาสตร์
จัดให้สอดคล้องกับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
-คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ (ขอบข่าย)
ตัวเลข เรื่องของจำนวน แทนค่า ,รูปร่าง ,ขนาด ศัพท์ เล็ก ใหญ่ สูง เตี้ย อ้วน ผอม ,ความเร็ว เรื่องของเวลากับสิ่งที่ทำ,ที่ตั้ง คือ ตำแหน่ง ซ้าย ขวา หน้า หลัง ค่าของเงิน ,อุณหภูมิ เป็นต้น

อาจารย์สอนเรื่องมาตรฐานการวัดในระบบเมตริก ระบบเมตริกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การวัดเรื่องของเวลาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องของการแก้ปัญหา

-ควรส่งเสริมให้เด็กความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ

-ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม

-เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทักษะทางคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆกัน

-เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นคว้าสำรวจ ปฏิบัติ รู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง

หลักการสอน

ครูปฐมวัยที่ดีนอกจากจะเข้าใจ พัฒนาการเด็ก ธรรมชาติของการเรียนรู้ของเด็ก และขอบข่ายของหลักสูตรอย่างลึกซึ้งแล้ว ยังจะต้องเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจหลักการสอน๕ณิตศาสตร์สำหรับเด็กได้อย่างดีด้วยเพื่อ

-สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน

-เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้พบคำตอบด้วยตนเอง

-มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี

-เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นพัฒนาการความคิดรวบยอดของเด็ก

-ใช้วิธีจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติกรรมเพื่อใช้ในการวางแผน

-ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก

-รู้จักสถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์

-ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริงเพื่อสอนความคิดรวบยอด

-วางแผนและส่งเสริม

ทำmind map เดี่ยว เรื่องปลา
ประเภท แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ น้ำจืดและน้ำเค็ม ,ลักษณะ ,ประโยชน์, โทษ เป็นต้น

บรรยากาศในห้องเรียน
นักศึกษาตั้งใจทำmind map ของตน และมีการอภิปรายถึงmind map ของตนให้เพื่อนๆฟังเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน