วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 10

วันที่ 6 ม.ค. พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
_คณิตตามหลักของเพียเจท์ มี 2 ทาง
1.ทางกายภาพ คือ จากประสาทสัมผัส ปฏสัมผัสสิ่งแวดล้อมโดยตรง
2.ความรู้ด้านเหตุผลทางคณิตศาสตร์ เกิดขึ้นภายในจากการเชื่อมโยงเข้ากับทฤษฏีโดยการลงมือกระทำที่เป็นผลสะท้อน (จะเกิดขึ้นขึ้นหลังเด็กลงมือกระทำกิจกรรม)โดยอาศัยความเชื่อมโยงจากข้อเท็จจริงที่เห็นไปสู่ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอดต่อไป (เกิดสติปัญญา)

ความหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ต้องอาศัยการจัดกิจกรรมที่มีการวางแผน และต้องเตรียมการอย่างดีจากครูเพื่อให้โอกาสเด็กค้นคว้าแก้ไขปัญหา ได้เรียนรู้พัฒนาความคิดรวบยอด เกิดทักษะในความรู้ด้านคณิตศาสตร์ เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาที่สูงขึ้น และใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

สาระ คือเนื้อหา สิ่งที่อยู่รอบตัว

จุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอด
- เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
- เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

ขอบข่ายคณิตศาสตร์
การนับ ,ตัวเลข, จัดลำดับ, รูปทรงและพื้นที่, การวัด

หลักการสอน
1.สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน(สอดคล้องกับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน) ให้เด็กมองเห็นความจำเป็น
2.เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้"พบคำตอบด้วยตนเอง"
3.มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี
4.เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก

บรรยากาศในห้องเรียน
นักศึกษาทุกคนสนใจเรียนกันเป็นอย่างดี ให้ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกัน


วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 9

ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นช่วงสอบกลางภาคเรียน ปีการศึกษา 2553

วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 8




อาจารย์สอนเกี่ยวกับคำศัพท์คณิตศาสตร์ ได้แก่
ตัวเลข ที่ตั้ง อุณหภูมิ ขนาด รูปร่าง ความเร็ว (เวลา)

-คำศัพท์ที่เด็กควรทราบ
-การวัดเรื่องเกี่ยวกับเวลา
-ระบบเมตริก

บรรยากาศในห้องเรียน
นักศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสนใจและตั้งใจเรียนดีค่ะ