วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 16

วันที่ 17 ก.พ. พ.ศ. 2554

อาจารย์นำหนังสือที่แจกให้นักศึกษามาอภิปรายให้ความรู้เกี่ยวกับการบูรณาการให้เข้ากับคณิตศาสตร์กับเด็กปฐมวัยว่ามีการนำไปใช้ประโยชน์ในการสอนและมีวิธีการเล่นอย่างไร
รวมถึงการเรียนเรื่องของขอบข่ายคณิตศาสร์ มีตัวอย่างการสอน
อาจารย์เขียนบนกระดานและให้นักศึกษายกมือตอบเกี่ยวกับเกมการศึกษาในเรื่องของขอบข่ายคณิตศาสตร์

ส่งงานขอบข่ายคณิตศาสตร์ (เกมการศึกษา)

บรรยากาศในห้องเรียน
นักศึกษาตั้งเรียนเป็นส่วนใหญ่

บันทึกครั้งที่ 15

วันที่ 10 ก.พ. พ.ศ. 2554







อาจารย์มอบหมายให้นักศึกษานำ"เกมการศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์"
มาอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนเกี่ยวกับสื่อคณิตศาสตร์ของตนกับเพื่อนพร้อมมอบหมายงานให้นักศึกษาเขียนชื่อเกม,ขอบข่ายคณิตศาสตร์,และวิธีการเล่นส่งในคาบเรียนหน้า

-เกมจับคู่รอยเท้าสัตว์
-เกมจับคู่ภาพสัตว์
-เกมจิ๊กซอรูปคนข้ามถนน
-เกมจิ๊กซอภาพฝนตก
-เกมจิ๊กซอรูปผีเสื้อ
-เกมต่อภาพจำนวนที่เท่ากัน
-เกมจับคู่ภาพแบบอุปมาอุปไมย
-เกมจัดหมวดหมู่ ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง
-เกมจับคู่แทนสัญลักษณ์ภาพ
-เกมพื้นฐานการบวก



บรรยากาศในห้องเรียน
นักศึกษาให้ความสนใจการเรียนรู้เรื่องสื่อเกมการศึกษาคณิตศาสตร์มาก

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 14

วันที่ 3 ก.พ. พ.ศ. 2554

อาจารย์สอนเรื่องของสาระสำคัญของคณิตศาสตร์
-สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
จำนวนนับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ...เป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นที่ละหนึ่ง (ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ)
-สาระที่2 การวัด
การวัดความยาวของสิ่งต่างๆเป็นการหาความยาวตามแนวนอน
การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง
-สาระที่3 เรขาคณิต
จำแนกทรงกลม
ข้างบน ข้างล่าง ข้างนอก
-สาระที่4 พีรคณิต
แบบรูปความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุดจำนวน รูปเรขาคณิต หรือสิ่งต่างๆ
-สาระที่5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
อาจใช้การสังเกตหรือการสอบถามก็ได้
แผนภูมิรูปภาพเป็นการนำเสนอข้อมูลอย่างง่าย ดดยใช้ภาพแสดงจำนวนสิ่งต่างๆ อาจวางรูปตามแนวนอน แนวตั้ง ก็ได้

บรรยากาศในห้องเรียน
นักศึกษาตั้งใจเรียนกันดี อากาศถ่ายเทดีค่ะ

บันทึกครั้งที่ 13


วันที่ 27 ม.ค. พ.ศ. 2554

อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 3-4 คน

ระดมความคิด คิดหน่วยการสอนที่สอดคล้องกับคณิตศาสตร์
ทำmind map เกี่ยวกับการบูรณาการสอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(หน่วยเรื่อง ข้าวโพด)
พร้อมทำแผนการจัดประสบการณ์ 4 วัน

บรรยากาศในห้องเรียน
อากาศในห้องเรียนเย็นสบายมาก แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์จะพังหน้านักศึกษาในการเรียน นักศึกษาตั้งใจเรียนกันดีพอสมควร

บันทึกครั้งที่ 12


วันที่ 20 ม.ค. พ.ศ. 2554

เรียนเกี่ยวกับ
-หลักการสอนคณิตศาสตร์
จัดให้สอดคล้องกับกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
-คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ (ขอบข่าย)
ตัวเลข เรื่องของจำนวน แทนค่า ,รูปร่าง ,ขนาด ศัพท์ เล็ก ใหญ่ สูง เตี้ย อ้วน ผอม ,ความเร็ว เรื่องของเวลากับสิ่งที่ทำ,ที่ตั้ง คือ ตำแหน่ง ซ้าย ขวา หน้า หลัง ค่าของเงิน ,อุณหภูมิ เป็นต้น

อาจารย์สอนเรื่องมาตรฐานการวัดในระบบเมตริก ระบบเมตริกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การวัดเรื่องของเวลาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องของการแก้ปัญหา

-ควรส่งเสริมให้เด็กความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ

-ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม

-เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทักษะทางคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆกัน

-เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นคว้าสำรวจ ปฏิบัติ รู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง

หลักการสอน

ครูปฐมวัยที่ดีนอกจากจะเข้าใจ พัฒนาการเด็ก ธรรมชาติของการเรียนรู้ของเด็ก และขอบข่ายของหลักสูตรอย่างลึกซึ้งแล้ว ยังจะต้องเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจหลักการสอน๕ณิตศาสตร์สำหรับเด็กได้อย่างดีด้วยเพื่อ

-สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน

-เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้พบคำตอบด้วยตนเอง

-มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี

-เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นพัฒนาการความคิดรวบยอดของเด็ก

-ใช้วิธีจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติกรรมเพื่อใช้ในการวางแผน

-ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก

-รู้จักสถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์

-ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริงเพื่อสอนความคิดรวบยอด

-วางแผนและส่งเสริม

ทำmind map เดี่ยว เรื่องปลา
ประเภท แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ น้ำจืดและน้ำเค็ม ,ลักษณะ ,ประโยชน์, โทษ เป็นต้น

บรรยากาศในห้องเรียน
นักศึกษาตั้งใจทำmind map ของตน และมีการอภิปรายถึงmind map ของตนให้เพื่อนๆฟังเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 11

วันที่ 15 ม.ค. พ.ศ. 2554

คณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัว การสอนคณิตศาสตร์ควรมีการบูรณาการกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม

อาจารย์เปิด Power Point สอนเกี่ยวกับเพลงคำคล้องจอง ต่างๆ
-เพลงสวัสดียามเช้า
-เพลงสวัสดีคุณครู
-เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือน
-เพลงเข้าแถว
-เพลงจัดแถว
-เพลงซ้าย-ขวา
-เพลงกลองหนึ่ง-สอง
-เพลงกระรอกบอกข่าว

บรรยากาศในห้องเรียน
นักศึกษาทุกคนสนใจเรื่องของเพลงที่จะนับไปบูรณาการกับการสอนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก