วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 4


วันที่ 18 พ.ย. พ.ศ. 2553

ไปศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

ประเด็นการศึกษา
-แต่ละซุ้มมีโรงเรียนใดบ้าง
-การเรียนการสอนแต่ละโรงเรียนเป็นอย่างไร มีการจัดการเรียนการสอนแบบใด
-การจัดสภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร
-มีสื่ออะไรบ้าง
-เทคนิควิธีการสอนเป็นอย่างไร
-ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาดูงานและการบูรณาการกับการเรียนคณิตศาสตร์

สิ่งที่ได้รับจากการไปศึกษาดูงาน
-ได้ความรู้การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนต่างๆ
-ได้เห็นการแสดงเห็นความสามารถของเด็กๆชั้นอนุบาล
-ได้ความรู้เทคนิคการสอนของโรงเรียนต่างๆ

บรรยากาศการไปศึกษาดูงาน
มีผู้ให้ความสนใจจำนวนมาก นักศึกษาสนใจศึกษาเก็บเกี่ยวความรู้จากซุ้มต่างๆเป็นอย่างดี

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 3


วันศุกร์ ที่ 12 พฤษจิกายน พ.ศ. 2553

-ดู power point แนวการทำบล็อก
-มีการเรียนควบคู่กับการเปิด power point
-แผนการสอน ( Lesson Plan )
การสอนแบบเดิมๆ Old Perceptions คือ การเรียนการสอนที่มีครูคอยค้นหาความรู้ให้กับเด็ก โดยที่เด็กไม่ค่อยมีบทบาทหรือมีส่วนร่วม
ปัจจุบันควรมีการสอนที่เน้นผู้เรียนหรือเด็กเป็นศูนย์กลาง ให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม รู้จักการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ครูไม่ควรใช้การสอนแบบเดิมๆ เพราะพฤติกรรมของเด็กไม่หยุดนิ่ง เกิดจากพัฒนาการ วัยเด็กเป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็นอยากลอง เด็กอยากเรียนรู้เมื่อเขาสนุก วิธีการเรียนรู้ของเด็ก คือ เขาได้ทำเอง เล่นเอง ได้ลงมือปฏิบัติเอง
การเล่น เป็นวิธีการที่เด็กจะเรียนรู้สิ่งเหล่านั้นผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 และต้องการแรงสนับสนุน

(แรงเสริมเกิดจากภายใน)
คณิตศาสตร์ หมายถึง การคิด อาจจะเป็นการคิดแบบการคาดคะเน การจัดหมวดหมู่ การคิดแก้ปัญหา หรือการเชื่อมโยงกับสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวัน โดยมีพื้นฐานการใช้เหตุและผล นำสัญลักษณ์มาเป็นตัวแสดง ได้แก่ ตัวเลข ภาพ เป็นต้น เกิดเป็นความคิดรวบยอด
คณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของเรา เพราะคณิตศาสตร์มีความเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของเรา เช่น เรื่องของเวลา การตื่นนอน ตัวเลขในเรื่องของคณิตศาสตร์นั้นเกี่ยวโยงกับชีวิตประจำวันของเรา กระทั่งการซื้อข้าว ซื้อขนม ราคาและปริมาณอาหารต่างๆนั้นเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์และตัวเราทั้งสิ้น
สรุปแล้ว คณิตศาสตร์มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวันของเรา เพราะคณิตศาสตร์เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของเราหลายๆอย่าง ทำให้เรารู้จักการคิดแก้ปัญหา การคาดคะเน เกิดเป็นความคิดรวบยอดเป็นต้น
ในการใช้คำถามกับเด็กเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ก็เช่น
-การถามปากเปล่า
-ตั้งโจทย์เป็นโจทย์ตัวเลข เช่น 8 กับ 12 ตัวเลขที่อยู่ระหว่างเลขทั้งสองคือ....ตอบ 10
-โจทย์ปัญหา เช่น นกสี่ตัวมีกี่ขา ..ตอบ มี 8 ขา เป็นต้น
สิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการเรียนวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-ได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่หลากหลาย
-ได้ความรู้ในเรื่องเทคนิคการใช้สื่อและการทำสื่อวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-ได้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอนการจัดสภาพแวดล้อมของวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


บรรยากาศในห้องเรียน
มีการสนทนา อภิปราย ซักถาม เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย นักศึกษาทุกคนตั้งใจช่วยกันค้นหาคำตอบ และแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นซึ่งกันเป็นอย่างดี

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 2

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุมด่วนค่ะ
(มีการชดเชยการเรียนในครั้งต่อไป)

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (บันทึกครั้งที่ 1)


วันพฤหัสบดี ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วันนี้เป็นการเรียนวันแรกของรายวิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เป็นการเรียนเกี่ยวกับแนวทางการเรียน ,การปฎิบัติตน มีรายละเอียดดังนี้

1.แนวการสอน
2.การสร้างบล็อก ต้องมีองค์ประกอบดังนี้

-ชื่อและคำอธิบายรายวิชา

-รูปและข้อมูลผู้เรียน
-ปฏิทินและนาฬิกา
-มีเชื่อมโยงบล็อกอาจารย์ผู้สอน ,หน่วยงานสนับสนุน, งานวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ,บทความ ,สื่อ (เพลง เกม นิทาน)ฯลฯ
3.แนวทางการเขียนอนุทินเพื่อบันทึกหลังเลิกเรียน

อนุทิน คือการบันทึกความจำ ข้อความรู้

การจัดประสบการณ์ คือ การจัดกิจกรรม เกม นิทาน, การวางแผน ,วัดและประเมินผล ,วัตถูประสงค์การวัดประสบการณ์ต่างๆ
ในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ครูต้องเปิดโอกาส และต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด็ก

พัฒนาการ คือ การแสดงออกถึงความต้องการ ซึ่งเป็นตัวสะท้อนพัฒนาการ

บรรยากาศในห้องเรียน

นักศึกษาตั้งใจเรียนดี มีการสนทนาซักถามระหว่างอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษา